เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด คือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องสัมผัส มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด สำหรับอุตสาหกรรม และเครื่องวัดแบบอินฟราเรดทางการแพทย์ เมื่อข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น คุณไม่สามารถใช้เครื่องวัดสำหรับอุตสาหกรรมแทน Infrared Thermometer ทางการแพทย์ได้
ความแตกต่างเครื่องวัดอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรม และทางการแพทย์
1. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด สำหรับอุตสาหกรรม
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดอุตสาหกรรม จะวัดอุณหภูมิพื้นผิวในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อุณหภูมิที่วัดได้ในเทอร์มอมิเตอร์ประเภทนี้สามารถอยู่ในช่วง -60 ถึงมากกว่า 1500 ° C ด้วยช่วงการวัดที่กว้าง โดยเครื่องวัดสำหรับอุตสาหกรรม มีความผิดพลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ± 1 ถึง 1.5 ° C ซึ่งเป็นที่น่าพอใจสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม
- ย่านการวัดอุณหภูมิ -60 ถึงมากกว่า 1500 ° C
- ความผิดพลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ± 1 ถึง 1.5 ° C
- ปรับค่า Emissivity ได้ตั้งแต่ 0-1.0
2. เครื่องวัดอินฟราเรดสำหรับทางการแพทย์
IR Thermometer สำหรับทางการแพทย์ จะต้องมีความแม่นยำมาก และช่วงอุณหภูมินั้น จำเป็นต้องรองรับอุณหภูมิร่างกายที่คาดไว้ของมนุษย์เท่านั้น IR Thermometer ทางการแพทย์มีช่วงการวัดอุณหภูมิระหว่าง 32 °C ถึง 42.5 °C และระดับความแม่นยำได้ที่ ± 0.3 °C เมื่อพิจารณาว่าความแตกต่างจะพบว่าการนำ Infrared Thermometer สำหรับอุตสาหกรรมมาวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือวัดไข้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ต้องได้รับการอนุญาตินำเข้าจากสำนักงานอาหาร และยkของประเทศไทยก่อน จึงจะสามารถนำเข้ามาจำหน่ายได้ เพื่อให้ผู้ซื้อได้สินค้าที่มีมาตรฐาน
- ย่านการวัดอุณหภูมิ 32 ถึง 42.5 ° C สำหรับวัดอุณหภูมิมนุษย์
- ความผิดพลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ±0.3 ° C
- ปรับค่า Emissivity ไม่ได้เนื่องจากออกแบบมาสำหรับวัดอุณหภูมิมนุษย์
สรุป
หากคุณต้องการการวัดอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ วัดไข้ วัดหน้าผากอย่างถูกต้อง และปลอดภัย Infrared Thermometer (IR) สำหรับอุตสาหกรรมไม่เหมาะ เนื่องจากมีค่าผิดพลาดสูงประมาณ ± 1 ถึง 1.5 ° C
- Infrared Thermometer สำหรับทางการแพทย์ มีความแม่นยำสูงกว่าชนิดสำหรับอุตสาหกรรม
- ไม่เหมาะที่จะนำเครื่องวัดสำหรับอุตสาหกรรมไปวัดไข้
ที่มาของข้อมูล