วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม ทำได้ยังไงมีขั้นตอนซับซ้อนมั้ย เปิดอ่านเลย

วิธีการใช้เครื่องวัดความเร็วลม

เครื่องวัดความเร็วลมมาตรฐานรุ่นที่เรียบง่าย และมีใบพัดที่ยื่นออกมา ซึ่งออกแบบมาเพื่อนำลมผ่านช่องอากาศ และหมุนใบพัดลม จากนั้นเครื่องมือวัดจะแสดงความเร็วไปยังจอแสดงผลของอุปกรณ์ โดยทั่วไปแล้ว Anemometer แบบมือถือจะมีปุ่มที่ใช้ในการแปลี่ยนหน่วยการวัดเป็น mph, Km/h, m/s, ft/min และ Knots ในบางรุ่นสามารถวัดอุณหภูมิ และความชื้นได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเร็วของก๊าซ เช่นการไหลของอากาศในท่อ หรือในการไหลของลมในบรรยากาศ

การใช้ Anemometer ในสถานการณ์ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความเร็ว ทิศทางของลม อัตราการไหลของลม CFM CMM อุปกรณ์นี้มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างสูง หรือการศึกษาผลกระทบของลม การใช้เครื่องมือนี้มีประโยชน์อย่างมาก

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องวัดความเร็วลม Benetech รุ่น GM8902+

ก่อนการใช้งานAnemometer ในแต่ละรุ่น ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียด เนื่องจากสินค้าแต่ละรุ่น มีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ในบทความฉบับนี้ จะอธิบายการทำงาน และการใช้งานเครื่องวัดความเร็วลม Benetech รุ่น GM8902+ สำหรับการวัดความเร็วลม และวัดอัตราการไหล CFM CMM เพื่อเป็นแนวทางสำหรับรุ่น GM8902+ เท่านั้น ซึ่งเครื่องวัดรุ่นนี้ เหมาะสำหรับวัดความเร็วลม และอุณหภูมิ อีกทั้งยังสามารถวัด CFM CMM ซึ่งเหมาะแก่การติดตั้ง และซ่อมแซมระบบปรับอากาศ HVAC ในการวัดการไหลเวียนของอากาศในเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน หรือระบบระบายอากาศ

1. ต่อสายโพรบเข้ากับเครื่องวัด แล้วกดปุ่มเปิดเครื่อง

2. กดปุ่ม Vel (Velocity) เพื่อวัดความเร็วลม หรือกดปุ่ม Flow เพื่อวัดอัตราการไหล CFM CMM สังเกตที่หน้าจอ จะแสดงตัวอักษร Vel หรือ Flow ตาม Mode การทำงานของเครื่อง

3. กรณีที่ต้องการวัดค่าอัตราการไหล CFM CMM ให้ทำการใส่พื้นที่หน้าตัดของท่อ Duct โดยการกดปุ่ม Area แล้วป้อนพื้นที่ลงไปในเครื่อง (พื้นที่ในหน่วยตารางเมตร ซึ่งง่ายต่อการวัด) และเครื่องจะสามารถเปลี่ยนเป็นตารางฟุตได้เอง แบบอัตโนมัติสำหรับการวัดค่า CFM

4. ยืดหัววัดออก จ่อหัววัด หรือสายโพรบไปยังท่อ Duct หรือบริเวณที่ต้องการวัดความเร็วลม

5. ถ้าต้องการบันทึกค่า ให้เก็บไว้ที่เครื่อง ให้กดปุ่ม Record เครื่องจะบันทึกค่าเพื่อทำการ download ผลการวัดไปยังคอมพิวเตอร์ในภายหลัง ค่าที่ได้สามารถ Export ไปยัง Excel ได้

6. เครื่องวัดความเร็วลมแบบ Hotwire สามารถบิดงอหัววัดได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งานในท่อ ที่เครื่องวัดแบบใบพัดเข้าถึงได้ยาก

การเลือกซื้อเครื่องวัดความเร็วลม

ความแม่นยำ

ในการประเมินคุณภาพของ Anemometer การให้ความสำคัญกับความแม่นยำ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ให้มองหา Anemometer ที่มีความแม่นยำตั้งแต่ ± 5% เป็นอย่างน้อย เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ ควรสอบถามเอกสารรับรองการสอบเทียบ (Certificate of Calibration) จากผู้จำหน่าย (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)

ตัวอย่างเอกสารรับรองการสอบเทียบ (Certificate of Calibration)

สรุป

การเลือก Anemometer ไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจใช้เวลานาน แต่ก็มี Anemometer ที่ราคาไม่สูงมากบางรุ่น ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่ครบถ้วน และความทนทาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อบริษัท นีโอนิคส์ จำกัด โทร 02-077-7602